วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ก๊าซ ชีวภาพ

ก๊าซชีวภาพ (Biogas) คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ด้วยวิธีทางชีววิทยา (Biological Treatment) ภายใต้สภาวะไร้อากาศ (Anaerobic Condition) องค์ประกอบหลักของก๊าซชีวภาพโดยทั่วไปจะได้แก่ ก๊าซมีเทน (CH4) ประมาณ 60-70 % ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ประมาณ 28-38 % และก๊าซอื่นๆ ประมาณ 2 % เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ไนโตรเจน (N2) และไอน้ำ เป็นต้น เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่คงตัวและไม่ติดไฟ ดังนั้น คุณสมบัติของก๊าซชีวภาพที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของก๊าซ มีเทน

ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

วิธีทำแสนจะง่ายครับ

1. หาปลอกซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80-100 ซม. จำนวน 2-3 ปลอกแล้วแต่ชอบนำมาซ้อนกัน หนุนรองด้วยไม้ หรืออิฐ จำนวน 3มุม ให้มั่นคง เดี๋ยวจะล้มมาทับท่านเอง ตั้งให้อยู่ในร่มจะดีมาก ให้สูงจากพื้นประมาณ 15 ซม. เอาไว้โกยปุ๋ยออก
2. หาเศษกิ่งไม้ หญ้า ฟาง ใส่ลงสูงไปประมาณ 50-60 ซม. จากนั้นท่านก็นำเศษอาหาร เปลือกผลไม้ ซากสัตว์ น้ำล้างปลา หัวปลา ไส้ปลา เยอะแยะครับ ใส่ลงไป กะประมาณสัก 5-10 ซม.  ไม่ได้ให้ใส่วันเดียวนะครับ ใส่ไปเรื่อยๆ วันไหนเหลือก็ใส่ลงไป สิ่งที่ยกเว้นห้ามใส่คือพวกที่ย่อยสลายไม่ได้ เช่น เหล็ก พลาสติก อันนี้แยกเอาไปขายจะดีกว่า และพวกสารเคมีต่างๆ
3. ทำสลับกันไปอย่างนี้เรื่อยๆเป็นชั้นๆ ถ้าครอบครัวท่านที่มีสมาชิกประมาณ 4-7 ท่าน ผมรับรองครับว่า เฉพาะเศษอาหาร ครึ่งปีก็ไม่เต็มสำหรับปลอกขนาด 1 เมตรอย่างที่บ้านผมใช้ เพราะมันจะยุบลงไปเรื่อยๆ
4. ประมาณ 45 วัน ท่านจะสังเกตุเห็นปุ๋ยหมักที่ด้านล่างสุดของปลอก ตามในรูป เอาไปใช้ได้เลยครับ รับรองว่าไม่เหม็น

ปุ๋ยหมัก

การทำปุ๋ยหมักเป็นการย่อยวัตถุอินทรีย์ให้ เป็นฮิวมัส (humus) ด้วยจุลิทรีย์  จุลินทรีย์หลักๆ ได้แก่ เชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย   วัตถุอินทรีย์ได้แก่ เศษอาหาร เศษหญ้า กระดาษ เป็นต้น กระบวนการการหมักปุ๋ยสามารถทำได้ 2 แบบ คือ 1. แบบใช้อากาศ และ  2. แบบไม่ใช้อากศ

          การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ(aerobic   compost) จะอาศัยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนช่วยในการย่อยวัตถุอินทรีย์ โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานดังนี้ 1. อากาศมีออกซิเจน   2. วัตถุอินทรีย์จะต้องมีอัตราส่วนของไนโตรเจน 1 ส่วนต่อคาร์บอน 30-70 ส่วน 3. จะต้องมีน้ำอยู่ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ 4. มีออกซิเจนให้จุนลินทรีย์ใช้เพียงพอ   ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 4 สิ่งนี้การทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศไม่เกิดขึ้น   ผลผลิตที่ได้จากการทำปุ๋ยหมักแบบใช้อากาศ คือ ไอน้ำคาร์บอนไดออกไซต์   และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลายแล้วที่เรียกว่า ฮิวมัส(humus)

          การทำปุ๋ยหมักแบบไม่ใช้อากาศ(anaerobic compost) จะอาศัยจุลทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อยวัตถุ จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนสามารถอยู่ได้โดยไม่มีออกซิเจน   และสามารถย่อยวัตถุอินทรีย์ที่มีอัตราส่วนไนโตรเจนสูงกว่า และอัตราส่วนคาร์บอนต่ำกว่าการทำปุ๋ยหมักแบบใช้การใช้อากาศและการย่อยสามารถ เกิดขึ้นได้ที่ความชื้นสูงกว่า   ผลผลิตของการย่อยสลายวัตถุอินทรีย์คือ แกสมีเทน (methane gas) และวัตถุอินทรีย์ที่ย่อยสลานแล้ว   ถ้าต้องการนำแกสีมเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงการทำปุ๋ยหมักต้องเป็นระบบปิดที่มี ความดีน

         การใช้ปุ๋ยหมัก (ฮิวมัส) กับดินจะช่วยปรับปรุงโครงสร้างดินและเนื้อดิน   ช่วยเพื่มโพรงอากาศ   ช่วยระบายน้ำและอากาศดีขึ้น   และเพิ่มการอุ้มน้ำของดิน   ลดการอัดตัวของดิน ช่วยให้ต้นไม้ต้านทานความแล้งดีขึ้น   และเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาสภาพดินให้สมบรูณ์และสมดุล   และธาตุไนโตรเจน  โพแทสเซียม   และฟอสฟอรัสยังผลิตขึ้นตามธรรมชาติด้วยการเลี้ยงจุลินทรีย์เหล่านี

น้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ตามแต่จะเรียก เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด

          เดิมทีนั้นจุดประสงค์ของการคิดค้น "น้ำ หมักชีวภาพ" ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำน้ำหมักชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ

          ด้าน การเกษตร น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย
วิธี ทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร

          เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้

          ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

          วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

          ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

          ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

          ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

          ทั้ง นี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้

ปุ๋ยพืชสด

 คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ในระยะช่วงออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารสูงสุด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสน อินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราพไร้หนาม  พืชตระกูลถั่วต่างๆ เป็นต้น พืชที่ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด สิ่งที่เกษตรกรคุ้นเคยมากในการเพิ่มผลผลิตพืชก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมี แต่ การใช้ปุ๋ยเคมีเพียง อย่างเดียว โดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุ ให้แก่ดิน จะทำให้ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็งไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ำ และแร่ธาตุอาหารพืช ได้น้อยลงทำให้การปลูกพืชไม่ได้ผลหรือได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

ประโยชน์ของปุ๋ยพืชสด

  1. เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
  2. เพิ่มธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักให้แก่พืช
  3. กรดที่เกิดจากการผุพังของพืชสด ช่วยละลายธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้มากยิ่งขึ้น
  4. บำรุงและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  5. รักษาความชุ่มชื้นในดินและให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
  6. ทำให้ดินร่วนซุย สะดวกในการเตรียมดินและไถพรวน
  7. ช่วยในการปราบวัชพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดี
  8. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน
  9. ลดอัตราการสูญเสียดินอันเกิดจากการชะล้าง
  10. เพิ่มผลผลิตของพืชให้สูงขึ้น
             

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

ใส่เศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคในแต่ละวัน เช่น เศษข้าว เศษอาหาร กระดูกสัตว์ เปลือกผลไม้ เศษพืชผัก ฯลฯ ใส่ลงในถังทุกๆวัน ทุกๆ เศษอาหาร จำนวน 1 กก. ให้ผสมด้วยโบกาฉิ จำนวน 1 กำมือ (โบกาฉิคือปุ๋ยหมักที่หมักด้วยอีเอ็มศึกษาการทำโบกาฉิ จากเอกสารการใช้อีเอ็มเบื้องต้น) ปิดฝาถังให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันแมลงวันวางไข่ คุณภาพของปุ๋ยจากกากอาหารและปุ๋ยน้ำนำไปใช้ประโยชน์

วันวิทยาศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดาน ไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่า จะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่าง จริงจัง    ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา พระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์

          ต่อมาใน วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวนของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230

วันแม่แห่งชาติ

อุ่นอันใดในหล้าที่ว่าอุ่น
ไม่ละมุมทดแทนเท่าแขนแม่
ที่ ตวัดโอบร่างอย่างดูแล
ยามลูกแพ้ด้วยฤทธิ์พิษสังคม
มือแม่นั้นโอบมาจาก บ่าซ้าย...
 
……...วันเกิดเราเป็นดั่งวันสิ้นลมแม่
....เจ็บปวดแท้ดั่งน้ำตาพาจะไหล
....สองมือออบโอบอุ้มแกว่งเปล
....น้ำนมเลี้ยงอุ้มชูให้เติบใหญ่มา
…แม่เปรียบดั่งยารักษายามป่วยไข้
....แม่เปรียบดั่งต้นไม้ใหญ่ร่มใบหนา
....แม่เปรียบดั่งดวงตะวันส่องแสงมา
…แม่เปรียบดั่งผ้าห่มหนาอบอุ่นกาย
…เปรียบดั่งพระในบ้านชี้แนะลูก
....สถิตย์ถูกอยู่กลางใจไม่ไปไหน
....กตัญญูตอนนี้ยังไม่สายไป
....ก่อนแม่ไซร้หลับตาไปไม่ลืมเอย

แม่เรา คือ ครูคนแรก
มีแต่ให้ มิรู้สิ้น ถวิลเกื้อ
ทุกหยาดเหงื่อ ปกป้อง ยามร้องไห้
สองมือแห่ง ความรัก พิทักษ์ภัย
สองมือไกว เห่กล่อม ยอมอ่อนเพลีย

ยามลูกสุข แม่สุข ไม่ทุกข์ท้อ
พร้อมสู้ต่อ โอบอุ้มเจ้า เฝ้าส่งเสีย
ยามแม่เหนื่อย มีลูกน้อย เคล้าคลอเคลีย
หายเหนื่อยเพลีย ด้วยรักลูก โดยผูกพัน

ยามเจ็บไข้ เจ้างอแง แม่เจ็บกว่า
แทบใบ้บ้า ทุกข์ร้อน สุดผ่อนผัน
สองมืออุ้ม ทะนุถนอม ดั่งชีวัน
หาหยูกยา มาแบ่งปัน ช่วยบรรเทา

ลูกรู้ไหม ดวงใจแม่ มีแต่ให้
คล้องสายใย เฝ้าดูแล แม้เหน็บหนาว
สองมือกอด ตระกอง อย่างแผ่วเบา
เพื่อให้เจ้า อบอุ่น อย่างคุ้นเคย

สองมือป้อน ความห่วงใย ไม่มีเปลี่ยน
สอนลูกเขียน ท่องจำ ใช่เมินเฉย
ครูคนแรก ในดวงใจ ใช่ใครเลย
รู้ไหมเอ่ย แน่แท้ แม่นั่นเอง
----------------------------------

 
 

ข้าวไทย

 ต้นข้าวมีลักษณะคล้ายต้นหญ้า ชาวนาใช้วัวควายไถนา แล้วปลูกข้าวไว้ในนา เมื่อต้นข้าวออกดอกหรือเรียกว่า "ออกรวง" ได้ประมาณหนึ่งเดือน เมล็ดข้าวก็จะแก่เก็บเกี่ยวได้    ชาวนาเกี่ยวข้าวโดยใช้เคียว ตัดเอารวงข้าวออกมาจากต้นข้าว แล้วนวด เพื่อแยกเอาเมล็ดออกจากรวงข้าว ชาวนานวดข้าวโดยใช้คนหรือวัวควายหรือแทรกเตอร์เหยียบย่ำ เมล็ดข้าวที่ได้นี้เรียกว่า "ข้าวเปลือก"  เมื่อเอาข้าวเปลือกไปสีในโรงสี เพื่อกะเทาะเอาเปลือกออกและขัดเมล็ด ก็จะได้เป็นเมล็ดข้าวสีขาว ซึ่งเรียกว่า "ข้าวสาร"    คนก็จะเอาข้าวสารไปหุงต้ม เพื่อรับประทานเป็นอาหาร ข้าวสารที่หุงสุกแล้วนี้เรายังเรียกว่า "ข้าว" ข้าวที่นิยมบริโภคมีสองชนิด คือ ข้าวจ้าวและข้าวเหนียว

สมุนไพรไทยน่ารู้







เล็บมือนาง
เล็บ มือนางเป็นไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบรูปรีหรือรูปไข่ ปลายแหลมโคนใบมน ดอกเป็นช่อขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีกลิ่มหอม ผลสีเขียว แก่จัดเป็นสีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู ปลูกโดยใช้รากหรือไหล ปลูกเป็นไม้ประดับ
เล็บมือนาง เมล็ด รสเอียน เบื่อเล็กน้อย ใช้ขับพยาธิและตานทราง ใช้ถ่ายพยาธิใส้เดือน