วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรื่องกล้วยๆที่ควรรู

น่ารัก
ประวัติความเป็นมาของกล้วย
น่ารัก
ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน
กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน
ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ
จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย
ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม
กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์

น่ารัก
ประวัติความเป็นมาของกล้วย
น่ารัก
ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน
กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน
ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ
จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย
ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม
กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์

ประวัติกล้วย
กล้วยประเทศไทย นั้น เดิมเป็นกล้วยป่าต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่น ในช่วงที่มีการอพยพของคนำทยในการตั้งถิ่นฐาน
อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารเขียนโดย เดอ ลาลูแบร์ (1963) กล่าวว่า ในสมัยอยุธยาที่เขาได้เดินทางมาเขาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี และในปี ค.ศ. 2484 เป็นต้นมา ได้มีการรวบรวมพันธุ์กล้วยไว้บ้างในบางช่วง และสูญหายไป ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รวลรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันการปลูกกล้วยในประเทศไทย จอกจากจะปลูกเพื่อบริโภคในประเทศแล้ว ยังส่งกล้วยหอมทองไปขายยัง ต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกงและยุโรป แต่ปริมาณการส่งออกลดลงทุกปี ๆ เพราะคุณภาพของกล้วยหอมทองไม่เหมาะในการส่งออกต่างประเทศเนื่อง จากสุกง่ายและเปลือกบาง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำได้ทำการศึกษาถึงสายพันธุ์กล้วยซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศพบว่า ประเทศไทยสามารถ ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชได้ดี


 ชื่อวิทยาศาสตร์

 Musa sp.

 ชื่ออื่น ๆ
 ¡กล้วยไข่ , กล้วยใต้ , กล้วยส้ม กล้วยหอม , กล้วยนาก ,กล้วยน้ำว้า , กล้วยเล็บมือนาง , กล้วยหอมจันทร์ , กล้วยหักมุก , กล้วยมณีอ่อง

จำแนก
 
ประเภทใบ และ ประเภทลูก
 

น่ารัก
ประวัติความเป็นมาของกล้วย
น่ารัก
ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน
กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน
ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ
จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ
กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่  ณ  เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย
ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
ความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทยในตอนแรกได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า  กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม
กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น
ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์



กล้วยอุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอ กับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที

         ประโยชน์ของกล้วยไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้น ยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรคเลยค่ะ ส่วนจะช่วยป้องกันโรคใดได้บ้างนั้นราไปหาข้อมูลมาให้แล้ว ดังนี้



          1. โรคโลหิตจาง ในกล้วยมีธาตุเหล็กสูงจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด และจะช่วยในกรณีที่มีสภาวะขาดกำลัง หรือภาวะโลหิตจาง



          2. โรคความดันโลหิตสูง มีธาตุโปรแตสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ ทำให้เป็นอาหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่จะช่วยความดันโลหิตมาก อย.ของอเมริกา ยินยอมให้อุตสาหกรรมการปลูกกล้วยสามารถ โฆษณาได้ว่า กล้วยเป็นผลไม้พิเศษช่วยลดอันตรายอันเกิดจากเรื่องความดันโลหิตหรือโรคเส้นเลือดฝอยแตก



          3. กำลังสมอง มีงานวิจัยในกลุ่มนักเรียน 200 คน โรงเรียน Twickenham พบว่ากินกล้วยมื้ออาหารเช้า ตอนพัก และมื้ออาหารกลางวันทุกวัน เพื่อช่วยส่งเสริมกำลังของสมองในพวกเขา  ได้รับผลดีจากการสอบตลอดปี ด้วยการจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณโปรแตสเซียมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในกล้วยสามารถให้นักเรียนมีการตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น



          4. โรคท้องผูก ปริมาณเส้นใยและกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูกโดยไม่ต้องกินยาถ่ายเลย



          5. โรคความซึมเศร้า จากการสำรวจ ในจำนวนผู้ที่มีความทุกข์เกิดจากความซึมเศร้าหลายคนจะมี ความรู้สึกที่ดีขึ้นมากหลังการกินกล้วย เพราะมีโปรตีนชนิดที่เรียกว่า Try Potophan เมื่อสารนี้เข้าไปในร่างกายจะ ถูกเปลี่ยนเป็น Rerotonin เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวผ่อนคลายปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ คือทำให้เรารู้สึกมีความสุขเพิ่มขึ้นนั่นเอง



          6. อาการเมาค้าง วิธีที่เร็วที่สุดที่จะแก้อาการเมาค้าง คือ การดื่มกล้วยปั่นกับนมและน้ำผึ้ง กล้วยจะทำให้ กระเพาะของเราสงบลง ส่วนน้ำผึ้งจะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดที่หมดไปในขณะที่นมก็ช่วย ปรับระดับของเหลวในร่างกายของเรา



          7. อาการเสียดท้อง กล้วยมีสารลดกรดตามธรรมชาติที่มีผลต่อร่างกายของเรา ถ้าปัญหาเกี่ยวกับอาการเสียด ท้อง ลองกินกล้วยสักผล คุณจะรู้สึกผ่อนคลายจากอาการเสียดท้องได้



          8. ความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า การกินกล้วยเป็นอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร จะรักษาระดับน้ำตาลในเส้นเลือดให้คงที่ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่สบายในตอนเช้า



          9. ยุงกัด ก่อนใช้ครีมทาแก้ยุงกัด ลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด มีหลายคนพบอย่างมหัศจรรย์ว่า เปลือกกล้วยสามารถแก้เม็ดผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้



          10. ระบบประสาท วิธีควบคุมปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด ด้วยการกินอาหารว่างที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างทุก 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาปริมาณน้ำตาลให้คงที่ตลอดเวลา การกินกล้วยที่มีวิตามินบี 6 ซึ่งประกอบด้วยสารควบคุมระดับกลูโคสที่สามารถมีผลต่ออารมณ์ ช่วยทำให้ระบบประสาทสงบลงได้



          11. โรคลำไส้เป็นแผล กล้วยเป็นอาหารที่แพทย์ใช้ควบคุม เพื่อต้านทานการเกิดโรคลำไส้เป็นแผล เพราะเนื้อของกล้วยมีความอ่อนนิ่มพอดี เป็นผลไม้ชนิดเดียวที่ทานได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคลำไส้เรื้อรัง และกล้วยยังมีสภาพเป็นกลางไม่เป็นกรด ทำให้ลดการระคายเคือง และยังไปเคลือบผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย



          12. การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ในวัฒนธรรมของหลายแห่งเห็นว่ากล้วย คือผลไม้ที่สามารถทำให้ อุณหภูมิเย็นลงได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอุณหภูมิของอารมณ์ของคนที่เป็นแม่ที่ชอบคาดหวัง ตัวอย่างในประเทศไทย จะให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์รับประทานกล้วยทุกวันเพื่อให้แน่ใจว่า ทารกที่เกิดมา จะมีอุณหภูมิเย็น



          13. ความสับสนของอารมณ์เป็นครั้งคราว กล้วยสามารถช่วยในเรื่องของอารมณ์และความสับสนได้ เพราะในกล้วยมีสารตามธรรมชาติ Try Potophan ทำให้อารมณ์ดี



          14. การสูบบุหรี่ กล้วยสามารถช่วยคนที่กำลังพยายามเลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากในกล้วยมีปริมาณของวิตามินซี เอ บี6 และบี 12 ที่สูงมาก และยังมีโปรแตสเซียมกับแมกนีเซียม ที่ช่วยทำให้ร่างกายฟื้นคืนตัวได้เร็วอันเป็นผล จากการลดเลิกนิโคตินนั่นเอง



          15. ความเครียด โปรแตสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญ ที่ช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ การส่งออกซิเจน ไปยังสมอง และปรับระดับน้ำในร่างกาย เวลาเกิดอารมณ์เครียด อัตรา metabolic ในร่างกายของเราจะขึ้นสูง และทำให้ระดับโปรแตสเซียมในร่างกายของเราลดลง แต่โปรแตสเซียมที่มีอยู่สูงมากในกล้วยจะช่วยให้เกิด ความสมดุล



          16. เส้นเลือดฝอยแตก จากการวิจัยที่ลงในวารสาร "The New England Journal of Medicine" การกินกล้วยเป็นประจำสามารถลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40%



          17. โรคหูด การรักษาหูดด้วยวิธีทางเลือกแบบธรรมชาติ โดยการใช้เปลือกของกล้วยวางปิดลงไปบนหูด แล้วใช้แผ่นปิดแผลหรือเทปติดไว้ให้ด้านสีเหลืองของเปลือกกล้วยออกด้านนอก ก็จะสามารถรักษาโรคหูดให้หายได้



 กล้วยดีมีประโยชน์
          เป็นไม้ผลนำมาบริโภค ใบนำมาห่อขนม หรือส่วนของลำต้น ใบนำมาทำกระทง ก้านนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ประโยชน์ทางสมุนไพร ยางกล้วยจากใบใช้ห้ามเลือด โดยหยดยางลงบนแผล ใช้กล้วยดิบทั้งลูกบดกับน้ำให้ละเอียด และใส่น้ำตาล รับประทาน แก้โรคท้องเสีย แผลในกระเพาะอาหารไม่ย่อย ผลสุกให้เป็นอาหารเป็นยาระบายที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจาจาระแข็ง หัวปลี แก้โรคลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด

dumbbell_02.jpg  พลังงาน    dumbbell_02.jpg
      ้าต้องการให้ระดับพลังงาน ที่หย่อนยานลงให้กลับคืนมาอย่างรวดเร็ว ไม่มีอาหารว่างใดดีไปกว่า กล้วย อุดมด้วยน้ำตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ซูโครส ฟรุคโทส และ กลูโคส รวมกับเส้นใยและกากอาหาร กล้วยจะช่วยเสริมเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายทันทีทันใด จากงานวิจัยพบว่ากินกล้วยแค่ 2 ผล ก็สามารถเพิ่มพลังงานให้อย่างเพียงพอ กับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้นานถึง 90 นาที จึงไม่น่าแปลกใจที่กล้วยเป็นผลไม้อันดับหนึ่งของนักกีฬาชั้นนำระดับโลก ไม่ใช่เพียงแค่เพิ่มพลังงานเท่านั้นยังช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรค จึงควรรับประทานทุกวันกล้วยนอกจากเป็นอาหารเพิ่มพลังแล้ว ยังเป็นอาหารลดน้ำหนัก เหมาะสำหรับรักษาหุ่น กล้วยช่วยเพิ่มพลังงาน หนักท้อง และให้แคลอรีสูง กล้วยน้ำว้าลูกโตหนึ่งผลมี 100 แคลอรี แถมยังมีวิตามินเอ และวิตามินซีมาก
           
นอกจากนี้ยังพบว่ากล้วยช่วยเพิ่มโปแตสเซียม ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับนักกีฬา หรือผู้ที่เสียเหงื่อมาก โซเดียมและโปตัสเซียมช่วยรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย ซึ่งกำหนดสมดุลของเหลวในร่างกาย ซึ่งกำหนดสมดุลของการเคลื่อนไหวอีกทอดหนึ่ง นักกีฬาต้องการพลังงานมากในระหว่างการแข่งขัน อีกทั้งยังต้องการความแม่นยำเที่ยงตรงในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างประสานสอดคล้องกัน จึงไม่แปลกใจเลยที่กล้วยเป็นผลไม้ในดวงในของนักกีฬา แต่ไม่เป็นนักกีฬาก็กินกล้วยได้ ยามใดที่ท่านรู้สึกเหนื่อย หมดแรง กินกล้วยสักลูกสองลูกช่วยได้แน่ ๆ หรือในยามปกติช่วงหยุดพักจากทำงาน จะดื่มน้ำชากาแฟกับกล้วยได้ หากกินกล้วยสุกบ่อย ๆ แล้วเบื่อ จะพลิกแพลงกินกล้วยปิ้งบ้างก็ยังได้ แม้แต่เปลือกกล้วยหอมที่เรามักคิดว่าเป็นส่วนที่ไม่มีประโยชน์แล้วนั้นก็ยังสามารถนำมาถูมือให้ทั่วเพื่อป้องกันผื่นแดง หรือมือลอกเป็นขุยในช่วงหน้าหนาว

 drink_03.jpg  บำบัด
          ยังเชื่อกันว่ากินกล้วยแช่น้ำผึ้งทุกวันจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง และเป็นยาอายุวัฒนะด้วยแทบทุกส่วนของกล้วยนอกจากจะนำมาทำอาหารได้ทั้งคาวหวานแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของกล้วยยังจัดเป็นพืชสนมุนไพรอีกด้วยอันถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น น้ำกาบกล้วยใช้แก้โรคผมร่วงหัวล้าน ราก กาบ และใบ ช่วยลดใข้ บรรเทาอาการปวดหัว ปวดแผลไฟไหม้ น้ำรั้อนลวด ปลีช่วยบำรุงน้ำนมมารดา และรักษาโรคโลหิตจาง ก้านกล้วยใช้ห้ามเลือด เปลือกกล้วยใช้ทาแก้แมลงกัดและผื่นคัน ผลกล้วยที่สุกงอมช่วยแก้ท้องผูก กล้วยดิบช่วยแก้ท้องเสีย ฯลฯกล้วยเป็นยาที่นิยมใช้กับโรคกระเพาะ โรคลำไส้ ทั้งกล้วยดิบและกล้วยสุกได้ถูกนำมาใช้แก้อาการผิดปกติของทางเดินอาหารกล้วยมุกหรือกล้วยน้ำว้าดิบ นำมาหั่นชิ้นบางตากให้แห้งบดเป็นยาผสมน้ำผึ้ง ใช้กินแก้อาการของโรคกระเพาะได้ บางคนบอกว่า กินกล้วยน้ำว้าสุกก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง จะช่วยรักษาโรคกระเพาะ และลดแก๊สในกระเพาะได้อาการท้องผูกก็แก้ด้วยกล้วยได้ กล้วยสุกมีสารเพ็คติน (pactin) ซึ่งเป็นยาสมานช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ เวลาเลือกกินกล้วยเพื่อแก้ท้องผูกนั้น ควรเลือกกล้วยที่สุกเหลืองทั้งผล เพราะจะมีสารเพ็คตินมาก จะช่วยเพิ่มกากอาหารให้ลำไส้ กากอาหารเมื่อมีมากขึ้นไปดันผนังลำไส้ ผนังลำไส้เมื่อไล่กากอาหารมากขึ้นจะทำงานโดยบีบตัวไล่กากอาหารออกมา ทำให้เรารู้สึกปวดถ่าย แต่ถ้าเรากินกล้วยที่ยังสุกไม่ทั่วผล หรือยังมีบางส่วนที่เขียวอยู่จะมีสารเพ็คตินน้อย แต่จะมีสารฝาดประเภทแทนนินอยู่มาก ถ้าเลือกกล้วยลักษณะเช่นนี้รับประทานแทนที่จะถ่ายกลับจะท้องผูกไปอีก

ประเภทของกล้วย
             หากสามารถรวบรวมพันธุ์กล้วยทั่วโลกมาปลูกไว้ในที่เดียวกันสวนกล้วยแปลงนั้นคงต้องใช้เนื้อที่มาก เพราะกล้วยมีสายพันธุ์หลายร้อยพันธุ์ เฉพาะในประเทศไทยก็มีถึง 323 สายพันธ์ ทดลองปลูกได้แล้ว 59 สายพันธุ์ ทั้งที่เป็นกล้วยป่า  กล้วยในท้องถิ่น  พันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ  พันธุ์กล้วยที่รู้จักกันทั่วไปมีมากมาย
เช่น       กล้วยป่า 
            กล้วยตานี ผลใหญ่มีเมล็ดมาก 
            กล้วยน้ำไทหรือกล้วยหอมเล็ก            
            กล้วยไข่ในประเทศไทยนิยมปลูกมากที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงมีคนเรียกว่ากล้วยไข่กำแพงเพชร 
            กล้วยหอมจันทร์                              
            กล้วยนมสาว  พบทางภาคใต้
            กล้วยร้อยหวี  มีผลมาก ผลขนาดเล็ก
            กล้วยหอมทองผลใหญ่
            กล้วยหอมใต้หวัน  มีผลดกกว่ากล้วยหอมทอง
            กล้วยหอมเขียวค่อม  ผลสุกโดยธรรมชาติจะมีสีเขียว  แต่ถ้าบ่มถูกวิธีก็จะมีสีเหลือง
            กล้วยนากมีผลใหญ่
            กล้วยน้ำ
            กล้วยขม
            กล้วยน้ำว้า  ถ้าแบ่งตามไส้จะมี 3 ชนิด  คือ ชนิดไส้ตรง   ชนิดไส้เหลือง  และชนิดไส้แดง
            กล้วยหักมุก  ลักษณะผลเป็นเหลี่ยมชัดเจน  เปลือกหนา 
            กล้วยส้ม  ลักษณะคล้ายกล้วยหัวมุก  แต่ผลเล็กกว่า
            กล้วยนิ้วมือนาง  ผลค่อนข้างใหญ่  ลักษณะอ้วนป้อม
            กล้วยหิน  มีมากทางภาคใต้  มีผลดกคล้ายกล้วยตานี
            กล้วยเปรี้ยว  มีรสค่อนข้างเปรี้ยว
            กล้วยแพ  ลักษณะใบแผ่ออกไปคล้ายพัด
            กล้วยบัว  ลักษณะหัวปลีคล้ายดอกบัว ต้นขนาดเล็ก  มักใช้เป็นไม้ประดับ

วิธีปลูก รักษา ดูแล
        กล้วยปลูกได้ง่าย มีทั้งแบบยกร่อง และปลูกบนพื้นที่ราบ ขุดหลุมกว้าง ยาว ลึกประมาณด้านละ 2 ฟุต  แต่ละหลุมห่างกัน 5 เมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักผสมดินปากหลุม ทิ้งไว้ประมาณ 5 วันก่อนปลูก          พันธุ์กล้วยก็เลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศแต่ละท้องถิ่นเพราะกล้วยบางชนิด อาจจะเติบโตได้ดีเฉพาะในบางท้องถิ่น การปลูกอาจจะเลือกปลูกโดยวิธีต่าง ๆ เช่น

                                                          การปลูกด้วยหน่อ
  การปลูกด้วยหน่อ   ที่ขุดแยกออกมาจากต้นแม่ ควรเลือกหน่อที่สมบูรณ์ แต่ยังไม่สูงนักเลือกหน่อ กล้วยที่ใบเล็ก ๆ เรียว ที่เรียกว่าหน่อใบดาบ ซึ่งจะสูงประมาณ 2-3 ฟุต เพราะถ้าใช้หน่อที่โตเกินไป อาจจะทำให้กล้วยชะงักการเจริญเติบโตได้ การปลูกกล้วยด้วยหน่อนั้นถ้าต้องการให้กล้วยออกเครือในทิศทางเดียวกัน ก็ให้ปลูกโดยหันรอยแผลของหน่อไว้ในทิศทางเดียวกันกล้วยก็จะออกใน ทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผลเหมือนกันหมดซึ่งจะสะดวกต่อการตัดเครือ ในภายหลัง         

การปลูกด้วยเมล็ด วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมกันมากนักเหมาะกับกล้วย บางชนิดเท่านั้นอาจใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เคยทำกันมาแต่ก่อน ด้วยการเพาะเมล็ดพันธุ์ในกระทงใบกล้วย กระบอกไม้ไผ่ หรือเพาะบนแปลงทดลองหลังจากต้นอ่อนเติบโตสูงได้ประมาณ 1 ฟุต ก็แยกลงหลุมปลูกต่อไป

   การปลูกโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งจะเป็นที่นิยม กันมากในอนาคต เพราะสามารถขยายพันธุ์กล้วยได้เป็นจำนวนมาก ได้กล้วยพันธุ์แท้ และคุณภาพดี เราอาจจะใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทดลองการเพาะเนื้อเยื่อตามกระบวนการหรือติดต่อขอซื้อต้นพันธุ์ จากหน่วยงานทางการเกษตรที่เพาะเนื้อเยื่อมาปลูกได้ 

   
กล้วยกับเศรษฐกิจไทย
       กล้วยเป็นพืชที่ขึ้นง่ายโตเร็วดูแลรักษาไม่ยากนักแต่ประโยชนที่ได้รับจากทุกส่วนของกล้วย ล้วนมีคุณค่ามหาศาล จึงน่าจะเป็นพืชชนิดหนึ่งที่คนไทยทุกคนควรหันมาจับตามองและให้ความสำคัญ อย่างจริงจังไม่เพียงแต่ปลูกกล้วยไว้เป็นอาหาร เพื่อเป็นร่มเงาหรือปล่อยให้แตกหน่ออย่างตามมีตามเกิด เท่านั้นแต่น่าจะมองในแง่คุณค่าทางเศรษฐกิจที่จะช่วยพัฒนาชีวิตของครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ โดยส่วนรวม
       ตัวอย่างต่อไปนี้อาจเป็นแนวคิดที่จะสร้างเศรษฐกิจจาก  "  กล้วย  "ได้บ้าง           ปลูกกล้วยเป็นพืชหลักอย่างหนึ่งในการทำเกษตรกรรมแบบไร่นาสวนผสมสำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ ไม่มากนักเช่น  ขุดบ่อเลี้ยงปลา  เลี้ยงไก่ ขุดคันร่องรอบพื้นที่ที่บนคันร่องปลูกกล้วยสลับกับพืชเศรษฐกิจ อื่น ๆ ที่สามารถหมุนเวียนเก็บขายเป็นรายได้ตลอดปี
       ปลูกกล้วยเป็นพืชเป็นพืชแซมพืชชนิดอื่น  ที่มีอายุยาวนานกว่าเช่น  มะม่วง  ทุเรียน  เงาะ  ลิ้นจี่  ลางสาด  ลำใย ฯลฯ  เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่พืชชนิดอื่นและสามารถนำมาจำหน่ายหรือแปรรูป ออกมาจำหน่ายในระหว่างที่พืชอื่นยังไม่ถึงเวลาออกลูกออกผล
        ปลูกกล้วยชนิดเดียวเพื่อเน้นการจำหน่ายผลและผลผลิตจากกล้วย  เช่น 
  •   การปลูกกล้วยไข่  ในจังหวัดกำแพงเพชร
  •   การปลูกกล้วยหอม  เพื่อการส่งออกในบางจังหวัด เช่น  พระนครศรีอยุธยา  อ่างทอง  เป็นต้น
  •   การปลูกกล้วยชนิดต่าง ๆ เพื่อการจำหน่ายและการอุตสาหกรรม เช่น ในจังหวัดเพชรบุรี
       ปลูกกล้วยในบริเวณบ้านเพื่อให้ร่มเงา บรรยากาศสดชื่นหรือปลูกไว้รับประทานหรือจำหน่าย ปลูกกล้วยเป็นไม้ประดับเช่น  การปลูกกล้วยกระถาง  ปลูกกล้วยบอนไซ ปลูกกล้วยเป็นอาชีพอิสระ เพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียนโดยใช้พื้นที่ใน  การปลูกทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน คนไทยเราส่วนใหญ่มักจะคิดว่าข้าวเท่านั้นที่เป็นอาหารหลักทั้งๆ ที่มีอาหารอื่นทั้งที่หาได้ไม่ยาก และมีคุณค่าทางอาหารมากมายไม่แพ้ข้าว เช่น กล้วยเป็นต้นซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารแล้วยังให้ ประโยชน์ด้านอื่นอีกมากมาย เราได้แต่ฝันว่า       สักวันหนึ่งคนไทยจะหันมาให้ความสำคัญกับกล้วยมากกว่านี้และเมื่อนั้นกล้วยจะกลายเป็น พืชเศรษฐกิจอันดับต้น ๆของไทยทีเดียว


3 ความคิดเห็น: